You are here
Feed aggregator
เสวนาเชิงนโยบาย "การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ในยุค Disruptive"
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 งานสภามหาวิทยาลัย จัดเสวนาเชิงนโยบาย "การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ในยุค Disruptive" โดย ศ.อุทัยรัตน์ ณ นคร นายสาธิต พุทธชัยยงค์ นายสลิล โตทับเที่ยง ผศ.ไชยยะ ธนพัฒน์ศิริ เสวนาเสนอแนะแนวทางในการร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัย ในด้านต่าง ๆ จากผู้ทรงคุณวุฒิ แบ่งออกได้เป็นด้าน ๆ ดังนี้ ด้านการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งระยะยาว และหลักสูตรระยะสั้น การวิจัย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน การนำงานวิจัย การบริการวิชาการ การหารายได้ โดยมีคณะกรรมการสภา คณะผู้บริหาร คณาจารย์ เข้ารวมรับฟังการบรรยายเป็นจำนวนมาก ณ โรงแรมเซ็นทารา อ่าวนาง บีช รีสอร์ท แอนด์สปา อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
การบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต"
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 งานสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จัดการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ "การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต" โดยได้รับเกียรติจาก ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ชี้แนะในการร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยในการรองรับการเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงของอนาคตข้างหน้า โดยมีคณะกรรมการสภา คณะผู้บริหาร คณาจารย์ เข้ารวมรับฟังการบรรยายเป็นจำนวนมาก ณ โรงแรมเซ็นทารา อ่าวนาง บีช รีสอร์ท แอนด์สปา อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
วข.ตรัง ลงนามฟื้นทะเล ปกป้องพะยูน ล้างบางขยะพลาสติก
คณบดี วิทย์-ประมง มทร.ศรีวิชัย วข.ตรัง พร้อมด้วยอาจารย์และทีมงาน ต้อนรับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมลงนามฟื้นทะเล ปกป้องพะยูน ล้างบางขยะพลาสติก . เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 ผศ.ดร.ประเสริฐ ทองหนูนุ้ย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง พร้อมด้วย อาจารย์และทีมนักวิจัย ต้อนรับ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการเดินทางไปเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนทะเลตรังสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือขับเคลื่อนตรัง สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาขยะทะเลและอนุรักษ์พะยูน ระหว่างกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, กรมควบคุมมลพิษจังหวัดตรัง, องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง, องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลิบง, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดตรัง, มูลนิธิอันดามัน และชมรมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของทุกภาคส่วนที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะทะเลและอนุรักษ์พะยูน นายวราวุธ กล่าวว่า ปัญหาขยะเป็นปัญหาสำคัญที่กระทบต่อชีวิตของประชาชนและระบบนิเวศ โดยเฉพาะในพื้นที่ชายฝั่ง ซึ่งมีขยะจำนวนมาก ถูกพัดพาลงไปสู่ทะเลจนเกิดผลกระทบ และความสูญเสียตามมาอย่างมากมาย เช่น กรณี “น้องมาเรียม” พะยูนขวัญใจคนไทยที่ต้องมาเสียชีวิตจากการกินเศษขยะพลาสติกในทะเล ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่คนไทยจะต้องตื่นรู้ และให้ความสนใจกับการจัดการขยะให้มากยิ่งขึ้นและที่ผ่านมาแม้จะมีสัญญาณดีหลายอย่าง เกี่ยวกับการจัดการปัญหาขยะในประเทศไทย เช่น ผลจากมาตรการงดใช้ถุงพลาสติกในห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ที่ทำกันมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 สามารถลดปริมาณการใช้ถุงหูหิ้วพลาสติก ได้ถึง 11,958 ล้านใบ หรือคิดเป็น 108,220 ตัน และเมื่อรวมกับการดำเนินโครงการอื่นๆ ก็สามารถลดอันดับของประเทศจากประเทศที่มีขยะสูงสุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ให้มาอยู่ในอันดับที่ 10 แต่ก็ยังต้องถือเป็นเพียงก้าวแรกของการทำงานเท่านั้น เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้วปัญหาจากขยะและขยะทะเลยังไม่จบ วันนี้เรายังคงได้ยินข่าวการสูญเสียสัตว์ จากการกินขยะพลาสติกเข้าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทุกฝ่ายจึงต้องร่วมมือกันสู้ต่อไป ผมเชื่อมั่นว่าความร่วมมือที่เกิดขึ้นจะเป็นอีกจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีในอนาคต เพราะหากเราไม่ร่วมมือกันในวันนี้ก็ไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะต้องมีเพื่อนของ “น้องมาเรียม” หรือสัตว์อื่นๆ ที่ต้องตายจากไปจากปัญหาขยะโดยหลังจากนี้ผู้เกี่ยวข้องจะต้องไปคิดต่อว่าจะขยายผลความร่วมมือในลักษณะนี้ไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไปอย่างไร และที่สำคัญอยากขอความร่วมมือจากคนไทยทุกคนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเพื่อลดขยะที่ไม่จำเป็นและขยะพลาสติกลงให้มากที่สุด เช่น การนำหลัก 3R Reduce ,Reuse, Recycle มาใช้ในชีวิตประจำวัน แม้การลด ใช้พลาสติกอาจทำให้ชีวิตเราไม่สะดวกในระยะแรก แต่มันคือราคาที่คุ้มค่าที่เราควรจ่ายเพื่อรักษาโรคใบนี้ไว้ต้องไม่ลืมว่าต้นตอขยะคือ “มนุษย์” ดังนั้นจึงอยู่ที่ตัวเราว่าจะยอมปล่อยให้พลาสติกเป็นปัญหาที่จะทำให้สภาพแวดล้อมโลกเลวร้ายลงต่อไปหรือไม่ ด้านนายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่าบันทึกความร่วมมือขับเคลื่อนตรังสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาขยะทะเลและอนุรักษ์เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตรัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจ เอกชน สถานศึกษา ภาคประชาชน และองค์กรพัฒนาเอกชน ที่จะร่วมกันแก้ไขปัยหาขยะทะเลและอนุรักษ์พะยูนตามแนวทางขับเคลื่อนตรังสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนประกอบด้วย 1. ร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะทะเลจากต้นทางโดยสำนักงานสถานที่ราชการร้านค้าตลาดสวนสาธารณะและกิจกรรมการท่องเที่ยวปลอดขยะพลาสติกและโฟมขับเคลื่อนครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะการนำขยะจากกิจกรรมในทะเลเช่นเรือโดยสารเรือประมง กลับคืนสู่ฝั่ง 2. พัฒนาระบบการคัดแยกขยะจัดเก็บและการขนส่งขยะให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลรวมทั้งสนับสนุนธุรกิจซื้อขายขยะรีไซเคิล 3. พัฒนามาตรการด้านการเงินการคลัง เช่น ระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือภาษีท้องถิ่นหรือภาษีสิ่งแวดล้อมโดยยึดหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย 4. พัฒนาการผลิต บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนำบรรจุภัณฑ์กลับสู่กระบวนการรีไซเคิล 5. ประสานความร่วมมืออนุรักษ์พะยูนคุ้มครองแหล่งที่อยู่อาศัยยาทะเลและระบบนิเวศทะเล 6. พัฒนาและสนับสนุนกลไกความร่วมมืออาสาสมัครเครื่องมือหรือกระบวนการในการจัดการการติดตามและเฝ้าระวังเพื่อแก้ไขปัญหาขยะทะเลและอนุรักษ์พะยูนขับเคลื่อนตรังสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน “ความร่วมมือครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะจากประชาชนในจังหวัดตรังโดยมีกลไกการทำงานที่สำคัญคือ คณะทำงานขับเคลื่อนตรังยั่งยืนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดตรังเป็นประธานด้วยตัวเอง และมีตัวแทนจากภาคีความร่วมมือต่างๆ เข้าร่วมเป็นคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาขยะโดยเฉพาะในพื้นที่ชายฝั่ง 5 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอสิเกา,อำเภอกันตัง,อำเภอปะเหลียน,อำเภอหาดสำราญ และอำเภอย่านตาขาว ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งเกิดการอนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเล ให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
หลักสูตร ระบบการบริหารจัดการน้ำการเกษตรอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี IoT
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ร่วมกับสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดโครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill) โดยได้รับงบประมาณสนับสุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อการมีงานทำและเตรียมความพร้อมรองรับการทำงานในอนาคต หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ชื่อหลักสูตร ระบบการบริหารจัดการน้ำการเกษตรอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี IoT (Internet of Things for smart agriculture watering management system) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจและประยุกต์ใช้ Internet of Things (IoT) ในการบริหารจัดการน้ำแบบอัจฉริยะผ่าน Application บน Smartphone และสร้าง Dashboard สำหรับตรวจสอบสภาพแวดล้อมและรายงานผ่านทาง internet สามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบ Datalogger โดยผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงระดับสูงและมีการฝึกภาคปฏิบัติงานสร้างระบบจริงใช้อุปกรณ์จริง โดยบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุมระบบการจัดการน้ำอัจฉริยะพร้อมด้วยชุดเซนเซอร์ เช่น วัดอุณหภูมิ/ความชื้นในอากาศ วัดค่าความชื้นในดิน วัดค่าความเข้มแสง และระบบควบคุมการทำงานระบบจ่ายน้ำ หลักสูตรระบบการบริหารจัดการน้ำการเกษตรอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี IOT ถือเป็นหลักสูตรที่มุ่งหวังให้เกิดทักษะ ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีและสามารถประยุกต์ใช้งาน Internet of Thing ในการพัฒนาเกษตรกรรมในงานอาชีพ และเพื่อต่อยอดการทำการเกษตรทั่วไปให้เป็นการเกษตรสมัยไหม่หรือ Smart-Farm ได้
การจัดโครงการในครั้งนี้มีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ดร.ประเสริฐ นนทกาญจน์ อาจารย์สุธาพร เกตุพันธ์ อาจารย์รุ่งโรจน์ จีนด้วง และวิทยากรผู้ช่วยเป็นนักศึกษา จากสาขาเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และได้ศึกษาดูงานในสถาที่จริงจากสถานประกอบการด้านการเกษตรได้แก่ ฟาร์มเห็ดเขาหมาก อำเภอร่อนพิบูลย์ และ สวนผักคุณครู อำเภอนาบอน โดยมีผู้เกษตรกรผ่านการคัดเลือกเข้าอบรม จำนวน ๓๐ คน ระยะเวลาในการโครงการจำนวน ๓ วัน(ระหว่างวันที่ 16-18 พฤษจิกายน 2563) ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ไสใหญ่
โครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษา
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ นำโดยผศ.ดร.ขวัญหทัย ใจเปี่ยม ผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ ร่วมด้วยอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา เข้าร่วมโครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เพื่อให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากประสบการณ์ที่ได้ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ สถานประกอบการ ระหว่างกัน เพื่อให้นักศึกษาสหกิจศึกษาภาคการศึกษาถัดไป ได้รับแนวทางในการนำเสนอผลการปฏิบัติสหกิจศึกษา และเพื่อให้อาจารย์ประจำหลักสูตรวิชา ได้มีโอกาสรับชมการนำเสนอผลการปฏิบัติงาน ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 3 อาคารอำนวยการและสารสนเทศ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ
วิศวะ มทร.ศรีวิชัย จัดโครงการนวัตกรอิเล็กทรอนิกส์พันธุ์ใหม่
หลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จัดโครงการนวัตกรอิเล็คทรอนิกส์พันธุ์ใหม่ เพื่อพัฒนานักศึกษาในด้านการวิจัยและสร้างนวัตกรรม ที่ห้องประชุมกัลปพฤกษ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย หลักสูตรสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ โครงการนวัตกรอิเล็กทรอนิกส์พันธุ์ใหม่ เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในการดำเนินการโครงงานสิ่งประดิษฐ์ให้มีมาตรฐานเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เพื่อเข้านำเสนอผลงานวิชาการ การประกวดแข่งขันผลงานสิ่งประดิษฐ์ระดับชาติ หรือสิทธิบัตรรวมถึงการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยมีการนำเสนอผลงาน สาธิตวิธีการใช้งาน ให้กับน้องๆ ที่มาร่วมกิจกรรมกับทางคณะ อาทิ เครื่องบีบอัดและคัดแยกขวดพลาสติกใสและกระป๋องอลูมิเนียมรีไซเคิลอัตโนมัติ เครื่องเขียนจรไฟฟ้าอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ขนาดชิ้นงานไม่เกิน 4*4 เซนติเมตร ตู้ชาร์จแบตเตอรี่สำหรับโทรศัพท์มือถือ เครื่องแยกบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลอัตโนมัติด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศเชิงพื้นที่แบบระยะไกลแสดงผ่านเว็บไซด์ ฯลฯ ซึ่งสร้างความสนใจให้น้องๆ ที่มาร่วมชม ร่วมทั้งนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 ยังได้ฝึกปฏิบัติในเรื่องของการนำเสนอและการสาธิตเสมือนจริงได้เป็นอย่างดี โครงการนวัตกรอิเล็คทรอนิกส์พันธุ์ใหม่ จะป็นการนำร่อง ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0 เพื่อสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ เป็นกำลังแรงงานที่มีมาตรฐานก่อให้เกิดรายได้ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับสากลต่อไป
สัตวแพทย์ มทร.ศรีวิชัย นำทีมนักศึกษา พัฒนาสุขภาพสัตว์ในชุมชน
ระหว่างวันที่ 12-20พฤศจิกายน 2563 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จัดโครงการสร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพการสัตวแพทย์ในชนบทสำหรับนักศึกษา ณ ต.เคร็ง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะทางวิชาชีพการสัตวแพทย์ให้แก่นักศึกษาในการนำวิชาชีพไปใช้ในการพัฒนาสุขภาพสัตว์ในชุมชน โดยมีการออกให้บริการทางวิชาการด้านการอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านในการดูแลสุขภาพสัตว์ ให้บริการตรวจสุขภาพ วินิจฉัย รักษาโรคในสัตว์เลี้ยงและสัตว์ปศุสัตว์ฉีดวัคซีน ทำหมันสุนัขและแมวในชุมชน โดยมี นายไสว ทองคำ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเคร็ง เป็นประธานในพีธีเปิด ผศ.น.สพ.สิริศักดิ์ ชีช้าง คณบดี ผศ.น.สพ.ธีระวิทย์ จันทร์ทิพย์ คณบดีผู้ก่อตั้ง สพ.ญ.ดร.เมธาสุ จันทร์รอด รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย ผศ.สพ.ญ.ดร.วิภาวี แสงสร้อย รองคณบดีฝ่ายบริหารและวางแผน น.สพ.มรกต แสงรุ่ง หัวหน้าโครงการ อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา จำนวน 34 คน เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้
สทส. มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ร่วมกับ ศวอล. ชันสูตรซากเต่าตนุที่เกยตื้น
สพ.ญ.ปิยะฉัตร บัวศรี สัตวแพทย์ประจำสถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ศวอล.) ชันสูตรซากเต่าตนุที่เกยตื้น เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ศวอล.) ได้รับแจ้งจากนายนายศิริพันธ์ ทองเอียบ ชาวบ้านในพื้นที่ เรื่องพบซากเต่าทะเลเกยตื้นบริเวณท่าเรือหน้าศาลเจ้าพระ 108 109 ม.3 บ้านหินคอกควาย ต.บ้านนา อ.ปะเหลียน จ.ตรัง เจ้าหน้าที่ ศวอล.เข้าตรวจสอบ เบื้องต้นพบว่าเป็นซากเต่าตนุ ขนาดกระดองยาว 88 กว้าง 79 ซม. เพศเมีย อยู่ในช่วงโตเต็มวัย สภาพซากสด ลักษณะภายนอกไม่พบบาดแผลหรือเพรียงเกาะตามร่างกาย ไม่พบหมายเลขไมโครชิพละแถบโลหะระบุตัวตน ความสมบูรณ์ทางโภชนะค่อนข้างสมบูรณ์ (BCS =4/5) ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ ศวอล. ได้ทำการขนย้ายซากเต่าตัวดังกล่าวจากจุดเกยตื้นมายัง ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ศวอล.) ผลการชันสูตร พบว่า ลักษณะภายนอกไม่มีบาดแผลหรือเพรียงเกาะตามร่างกาย ความสมบูรณ์ทางโภชนะค่อนข้างสมบูรณ์ เมื่อเปิดผ่าดูความผิดปกติของอวัยวะภายใน พบว่าปอดมีสีซีด ลิ้นหัวใจหนาตัว ผนังหัวใจหนา ในส่วนของทางเดินอาหาร พบหญ้าทะเลอัดแน่นอยู่เต็มกระเพาะอาหาร ในส่วนของลำไส้เล็กพบจุดเลือดออกและการอุดตันของลำไส้เล็กส่วนต้น รวมถึงพบเนื้อตายในบางส่วนของกระเพาะพัก กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ไม่พบสิ่งแปลกปลอมในทางเดินอาหาร สาเหตุการตาย คาดว่าป่วยตามธรรมชาติ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้ทำการเก็บตัวอย่างผิวหนังเพื่อตรวจทางพันธุกรรม ตัวอย่างชิ้นเนื้อ อาหารในกระเพาะ และอุจจาระเพื่อตรวจทางโลหะหนัก และสารชีวพิษทางห้องปฏิบัติการต่อไป
วศ.อว. เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการด้านวิเคราะห์ทดสอบ คณะวิศวกรรมศาสตร์
วศ.อว. เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการด้านวิเคราะห์ทดสอบ และผลงานวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย ณ ห้องเฟืองทอง อาคารศรีวิศววิทยา คณะวิศวกรรมศาสตร์ รศ.จรูญ เจริญเนตรกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยรศ.ดร.จารุวัฒน์ เจริญจิต รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณาจารย์ และบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมต้อนรับนายปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ และคณะฯ ได้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการด้านวิเคราะห์ทดสอบ และผลงานวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ทั้ง 5 สาขา เพื่อบูรณาการความร่วมมือเป็นเครือข่ายการส่งเสริมระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพของประเทศ และเป็นการพัฒนาเชิงพื้นที่ตามแนวคิดการขับเคลื่อนประเทศไทยไปด้วยกันกับ วศ.อว.
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อัพไซคลิ่งจากขยะในชุมชนเกาะลิบง ตำบลเกาะลิบง
ระหว่างวันที่ 14 - 15 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ผศ. เอนก สาวะอินทร์ อาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง หัวหน้าโครงการวิจัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์อัพไซคลิ่งจากขยะในชุมชนเกาะลิบง ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตังจังหวัดตรัง พร้อมด้วยทีมงานวิจัย และนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและสิ่งเเวดล้อม โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวธราวริณทร์ กาญจนาณัฐวัฒน์ นักวิชาการมาตรฐาน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดตรัง ซึ่งเป็น ศิษย์เก่าหลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง เข้าเยี่ยมชมพร้อมให้คำแนะนำ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแก่แม่บ้านเกาะลิบง กลุ่มลิบงอัพไซคลิ่ง (Libong Upcycling) ผลิตภัณฑ์กระเป๋ารักษ์โลกจากกระสอบวัสดุเศษเหลือในชุมชน ให้มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ที่เพิ่มสูงขึ้น พร้อมทั้งนำนักศึกษา บูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะลงพื้นที่เก็บข้อมูลปริมาณขยะและแนะนำการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ณ ชุมชนเกาะลิบง ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
โครงการวิจัย นวัตกรรมการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าจากเส้นใยสับปะรด สู่การสร้างแบรนด์
เมื่อวันที่ 13 พ.ย.2563 ดร.ทัชชญา สังขะกูล อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาสถาปัตยกรรม และผศ.วรสุดา ขวัญสุวรรณ อาจารย์หลักสูตรสาขาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ เข้าร่วมนำเสนอโครงการวิจัย นวัตกรรมการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าจากเส้นใยสับปะรด สู่การสร้างแบรนด์โครงการย่อยที่ 1 นวัตกรรมการออกแบบพัฒนาผลิตภณฑ์ตกแต่งบ้าน เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้จากเส้นใยสับปะรด โครงการย่อยที่ 2 การจัดจำหน่ายและการรับรู้ผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน จากเส้นใยสับปะรดสู่ตลาดบน ผลิตภัณฑ์เพื่อการแข่งขันระดับประเทศ ร่วมกับคณาจารย์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และหน่วยงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ณ ห้องสุคนธา บีซี โรงแรมเซ็นทารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
เยี่ยมชมพื้นที่วิจัย ชุมชนเลี้ยงหอยนางรม
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 คณะศึกษาดูงาน จากคณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี พร้อมด้วย ดร.สุพัชชา ชูเสียงแจ้ว ลงพื้นที่บ้านแหลม ต.วังวน อ.กันตัง จ.ตรัง เยี่ยมชมพื้นที่วิจัยซึ่งเป็นชุมชนเลี้ยงหอยนางรม โดยมีนางสาวมล ณะสม และนายสมยศ ณะสม เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยนางรมให้ความรู้ในการเลี้ยงหอยนางรมในชุมชน และผลผลิตหอยนางรมจากโรงเพาะฟัก #คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ที่ร่วมเลี้ยงกับชุมชน
มทร.ศรีวิชัยลงพื้นที่ ยกระดับ นวัตกรรมชุมชนต้นแบบจากเศษต้นจาก ชุมชนวังวน จังหวัดตรัง
ดร.ทัชชญา สังขะกูล อ.เรืองรัมภา อินทรักษ์ อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และผศ.นันทชัย ชูศิลป์ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย คณะวิจัยโครงการ"นวัตกรรมชุมชนต้นแบบจากเศษต้นจากเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนวังวน จังหวัดตรัง" ภายใต้ความร่วมมือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน อ.กันตัง จ.ตรัง ร่วมนำเสนอรูปแบบ และรับฟังแนวทางในการออกแบบ "ศาลาจากรักษ์โลก" นวัตกรรมบล๊อคทางเท้า และแผ่นฝ้าจากเส้นใยต้นจาก โดยมี นางประภาพรรณ กันตังพันธ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล คณะทำงาน ผู้นำชุมชน ตลอดจนตัวแทนประชาชนในพื้นที่ ร่วมหารือกันเพื่อ หาแนวทางการพัฒนาทั้งในรูปแบบสถาปัตยกรรม การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม การสร้างนวัตกรรมบนภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนการบูรณาความร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ชุมชนได้รับการยกระดับในด้านสังคม เศรษฐกิจ และนวัตกรรม บนพื้นฐานวิถีชีวิตยั่งยืนด้วยแนวทางวิชาการจากศาสตร์ทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมในการออกแบบอาคารและนวัตกรรมในชุมชมถือเป็นการบูรณาการการเรียนการสอน งานวิจัยและการบริการวิชาการ ทั้งนี้ผลงานในการนำเสนอชุมชนส่วนหนึ่งเป็นผลงาน สร้างสรรค์ของนักศึกษาในรายวิชาการออกแบบรายวิชาการควบคุมสภาพแวดล้อมในอาคาร รายวิชาออกแบบสถาปัตยกรรม2 และรายวิชาวัสดุก่อสร้าง ถือเป็นการนำผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาและอาจารย์สู่การใช้ประโยชน์และการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
สวพ. ร่วมทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านงานวิจัยและบริการวิชาการ
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประภาศรี ศรีชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ศรีวิชัย ร่วมทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านงานวิจัยและบริการวิชาการ เครือข่ายสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง และร่วมประชุมเครือข่ายสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 3/2563 ณ ศูนย์นวัตกรรมและความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายและร่วมกันพัฒนากลไกในการบริหารจัดการงานวิจัยตามข้อตกลงที่มีความเห็นร่วมกัน
คณะศิลปศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย ลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านหัวเขาฯ
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2563 นักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยว สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย ลงพื้นที่ศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านหัวเขาสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน ณ ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ผู้นำชุมชนได้เริ่มมีการดำเนินกิจกรรมที่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวในเมืองเก่าสงขลา และได้เล็งเห็นว่า สงขลาเป็นชุมชนที่มีความหลากหลายของเชื่อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์ และสงขลามีทรัพยากรทางธรรมชาติและความหลากหลายของชุมชนซึ่งชวนหลงไหล ผู้นำกลุ่มจึงได้จัดตั้งกลุ่ม ชื่อว่า Ecotourism Songkhla Thailand เพื่อเป็นกลุ่มที่ช่วยขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยวเมืองเก่าสงขลาเข้ากับชุมชนบ้านหัวเขา อำเภอสิงหนคร โดยมีการร่วมมือกับผู้นำชุมชนบ้านหัวเขา ซึ่งในวันนี้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่หลายหลาย ตั้งแต่การเดินศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชน และกิจกรรมการล่องเรือหางยาว ชมทัศนียภาพของทะเลสาบสงขลา การนั่งรถซาเล้งชมวิถีวิชีวิตและแหล่งท่องเที่ยวบ้านหัวเขา เที่ยวสวนชาใบขลู่ Singora Comes Alive ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ และบรรจุภัณฑ์น้ำชาใบขลู่ที่สวยงาม ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากชุมชนโดยตรงและได้เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยว สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว นำประสบการณ์ที่ได้รับ มาจัดกระบวนการคิด วางแผน และการต่อยอดทางด้านการเรียนต่อไป
นักศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้า มทร.ศรีวิชัย วข.ตรัง เรียนรู้การบริหารจัดการพลังงานและระบบผลิตไฟฟ้าอัจฉริยะ
นักศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้า มทร.ศรีวิชัย วข.ตรัง เรียนรู้การบริหารจัดการพลังงานและระบบผลิตไฟฟ้าอัจฉริยะ ณ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ . ระหว่างวันที่ 4-7 พฤศจิกายน 2563 ผศ.ดร. ปภัศร์ชกรณ์ อารีย์กุล พร้อมด้วยนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง จำนวน 13 คน เข้าศึกษาดูงานในหน่วยงานภาคราชการและเอกชน “การบริหารจัดการพลังงานและระบบผลิตไฟฟ้าอัจฉริยะ” ณ จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 1. โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ 2. การประชุมสัมมนาวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี ( treca13 conference) 3. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน อาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานี 4. การผลิตเครื่องปรับอากาศ และ ระบบ Solar Air Hybrid บริษัท ไทย ทาซากิ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ การศึกษาดูงานในครั้งนี้ นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจในลักษณะนำเทคโนโลยีพลังงานที่ทันสมัยในการประยุกต์งานจริงในภาคอุตสาหกรรม การจัดการพลังงานในภาคธุรกิจ เอกชน รวมถึงวิวัฒนาการสู่ยุค Energy 4.0 ของประเทศในอนาคตต่อไป
คณะสัตวแพทยศาสตร์ต้อนรับ รัฐมนตรีว่าการอุดมศึกษาฯ
คณะศิลปศาสตร์ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาอาหารยุโรป
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 หลักสูตรสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ สาขาคหกรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาอาหารยุโรป และวิชาการสาธิตอาหาร เพื่อให้นักศึกษาได้รับองค์ความรู้และประสบการณ์ตรงจากสถานประกอบ ณ ร้านไวน์ วินเลจ หาดใหญ่
คณะศิลปศาสตร์ จัดกิจกรรม Smart Tour Guide
มทร.ศรีวิชัย วข.ตรัง ต้อนรับและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย
มทร.ศรีวิชัย วข.ตรัง ต้อนรับและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกคัดเลือกเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 49 นางอุษา ศรีเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตตรัง พร้อมด้วยบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้รับมอบหมายจากรองอธิการบดีประจำวิทยาเขตตรัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ต้อนรับและให้ข้อมูล นายวิวัฒน์ วิกรานตโนรส อดีตรองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเจ้าภาพจัดการแข่งขัน พร้อมด้วยนายปัญญา หาญลำยวง (อดีตรองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) และนายธัชนาถ ทองประกอบ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากีฬาเป็นเลิศ คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกคัดเลือกเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 49 (พ.ศ.2567) และการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 34 (พ.ศ.2568) ซึ่งได้เดินทางมายังมหาวิทยาลัยฯ นำทีมสำรวจโดย นายณรงค์ โสภารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดตรัง คณะกรรมการจังหวัดตรัง เพื่อสำรวจความพร้อมของพื้นที่ในการจัดการแข่งขันกีฬาฯ 3 ประเภท คือ สนามแข่งขันฟุตซอล ณ อาคารกีฬาราชมงคลตรัง ที่พักนักกีฬาและผู้ฝึกสอน ณ หอพักนักศึกษา และสนามวอลเลย์บอลชายหาด ณ ชายหาดราชมงคลตรัง พร้อมทั้งด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเสนอตัวขอรับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาฯ ทั้งนี้ จะได้นำเสนอ ความพร้อมของจังหวัดตรัง เพิ่มเติมจากภาคธุรกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าของพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของสนามกีฬาต่าง ๆ เพื่อยืนยันความพร้อมในการจัดการแข่งขัน ณ โรงแรมเรือรัษฎา อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ต่อไป